วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบ

31. แผ่น Disk ต่อไปนี้แบบใด เก็บข้อมูลได้มากที่สุด

ก. 3.5 นิ้ว DSDD ข. 3.5 นิ้ว DSHD

ค. 5.25 นิ้ว DSDD ง. 5.25 นิ้ว DSHD
เฉลย ข
32. แผ่น Disk ต่อไปนี้แบบใด เก็บข้อมูลได้น้อยที่สุด

ก. 3.5 นิ้ว DSDD ข. 3.5 นิ้ว DSHD

ค. 5.25 นิ้ว DSDD ง. 5.25 นิ้ว DSHD
เฉลย ค
33. OS ย่อมาจากอะไร ในเรื่องระบบปฎิบัติการ

ก. Operaing system ข. Open System

ค. Off-line System ง. Opportunity System
เฉลย ก
34. RAM คือหน่วยความจำที่เข้าถึงได้โดยสุ่ม ถามว่า RAM ย่อมาจากอะไร

ก. Read Access Memory ข. Random Access Memory

ค. Real Action Method ง. Random Accumulate Measurement
เฉลย ข
35. ข้อใดเป็นข้อเสียของ DRAM

ก. เกิดการรั่วหรือคลายประจุออกเองเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ข. มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้

ค. ยังไม่มีผู้ผลิตนำมาใช้ในธุรกิจ ง. ไม่เคยมีคำนี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาก่อน
เฉลย ก
36. ข้อใดไม่ใช้หน่วยความจำในเครื่อง Microcomputer

ก. หน่วยความจำปกติ (Conventional memory) ข. หน่วยความจำอัปเปอร์ (Upper Memory)

ค. หน่วยความจำโลเวอร์ (Lower memory) ง. หน่วยความจำสูง (High Memory)
เฉลย ค
37. ข้อใดไม่ใช้หน่วยความจำในเครื่อง Microcomputer

ก. หน่วยความจำเอ็กซ์เทนด์ (Extended memory)

ข. หน่วยความจำปกติ (Conventional memory)

ค. หน่วยความจำเหนือปกติ (High environment memory)

ง. หน่วยความจำเอ็กซ์แปนด์ (Expanded memory)
เฉลย ค
38. หน่วยความจำ Cache memory เป็นหน่วยความจำแบบใด

ก. Static RAM ข. Dynamic RAM

ค. Win RAM ง. Linux RAM
เฉลย ก
39. หน่วยความจำปกติ (Conventional memory) ใน Microcomputer มีใช้เนื้อที่ขนาดเท่าใด

ก. 64 Kb ข. 384 Kb

ค. 640 Kb ง. 1024 Kb
เฉลย ค
40. หน่วยความจำอัปเปอร์ (Upper memory area) ใน Microcomputer มีใช้เนื้อที่ขนาดเท่าใด

ก. 64 Kb ข. 384 Kb

ค. 640 Kb ง. 1024 Kb
เฉลย ข

สูตรการใช้โปรแกรม Excel

สูตรการใช้โปรแกรม Excel
1.การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
ในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ มักจะมีการถามคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ รายได้ เป็นต้น การวิเคราะห์หาจำนวนผู้ตอบที่เป็นเพศชาย หรือเพศหญิง สามารถทำได้ง่ายโดยใช้ ฟังก์ชั่น Count และวิธีการจากบทที่แล้ว แต่ถ้าให้ผู้ตอบเติมตัวเลข ในการวิเคราะห์จะมีความซับซ้อนขึ้นบ้าง ดังนี้
สมมติว่า ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม มีดังนี้
จากข้อมูลข้างต้น เราต้องการหาคำตอบ ดังต่อไปนี้

แสดงจำนวนผู้ตอบ จำแนกตามช่วงอายุ
จำนวน ผู้ที่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และ มีเงินเดือน 20,000 บาทขึ้นไป
จากข้อมูลข้างต้น เราจะหาจำนวนของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปี และมีเงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาท ขึ้นไป จะเห็นว่า มีเงื่อนไข 2 เงื่อนไขคือ อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และอีกเงื่อนไขคือ รายได้ตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป เราจะใช้ฟังก์ชั่น DCOUNT เพื่อนับจำนวนที่มีหลายเงื่อนไข รูปแบบของ DCOUNT มีดังนี้

DCOUNT(database,field,criteria)
database
คือตารางข้อมูลที่จะใช้ในฟังก์ชั่นนี้ จะระบุเป็นช่วง เช่น A5:D14
field
คอร์ลัมข้อมูลที่จะนำมาใช้ในสูตรการคำนวน เริ่มจากคอร์ลัมน์ซ้ายสุด เป็น คอร์ลัมน์ที่ 1 ต้องการให้นับคอร์ลัมน์ใด ก็ระบุเลขที่ของคอร์ลัมน์นั้น
criteria
เงื่อนไขในการนับ

วิธีการใช้สูตรนับจำนวน DCOUNT มีดังนี้
เนื่องจากเงื่อนไขของเรามีสองเงื่อนไข คือ อายุ และเงินเดือน จึงต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ใน Cell เสียก่อน เพื่อจะได้เรียกใช้ได้ภายหลัง ในช่อง B1:C2 ให้พิมพ์เงื่อนไข ดังนี้
พิมพ์ข้อมูลดังภาพข้างล่างนี้
ข้อมูล A4:D14 เป็นตารางข้อมูล ซึ่งจะต้องมีชื่อคอร์ลัมปรากฎอยู่ ในตัวอย่างนี้ คือ A4 ถึง D4
ในช่อง B1:C2 เป็นเงื่อนไขในการนับจำนวน จะเห็นว่า มีชื่อคอร์ลัมน์ และเงื่อนไขในคอร์ลัมน์ จากตัวอย่างนี้ คือ ต้องการให้นับเฉพาะ ในช่องอายุ ให้มีอายุเท่ากับ 25 หรือ มากกว่า 25 หรือ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ตั้งแต่ 25 ปี ขึ้นไป ส่วนเงื่อนไขที่2 เป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับเงินเดือน ว่า ต้องการเฉพาะ เงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปเช่นเดียวกัน จะต้องมีชื่อคอร์ลัมน์ และเงื่อนไขที่ต้องการ (ในที่นี้ ชื่อคอร์ลัมน์ คือ เงินเดือน และเงื่อนไข คือ >=20000)
เราจะใส่ผลที่ได้จากการนับ ตามเงื่อนไขที่กำหนด ใส่ลงในช่อง C18
คลิก C18 เพื่อบอก Excel ว่า ต้องการนำผลที่ได้มาใส่ไว้ที่นี่
ไปที่เมนู Insert > Function... หรือ คลิกที่รูป บน formula bar จะเกิดหน้าจอให้เลือกฟังก์ชั่น
ที่ช่อง Or select a category ให้เลือก All เพื่อดูฟังก์ชั่นทั้งหมด จา่กนั้นจึงเลือกหา Dcount ในส่วน Select a function ดังภาพ
คลิก OK
จะเปิดหน้าต่าง ให้เติมค่าตัวเลือกต่าง ๆ ค่าที่เติมลงในช่องต่าง ๆ เหล่านี้ เราเรียกว่า parameters ให้เติมค่าต่าง ๆ ดังภาพ
Database คือตารางข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ จะบอกเป็นช่วง ในตัวอย่างนี้ ตารางข้อมูลอยู่ที่ A4:D14 การเลือกต้องให้ครอบคลุมหัวตาราง ซึ่งอยู่ที่ A4:D4 ด้วย
Field คือคอร์ลัมน์ที่จะนำมานับ ให้ใส่เป็นตัวเลขคอร์ลัมน์ที่เท่าไร ในตัวอย่างเราต้องการนับ คอร์ลัมน์ อายุ ซึ่งเป็นคอร์ลัมน์ที่ 3 (คอร์ลัมน์ 1 คือ เลขที่ คอร์ลัมน์ 2 คือ ชื่อ คอร์ลัมน์ 3 คือ อายุ คอร์ลัมน์ 4 คือ เงินเดือน)
Criteria คือเกณฑ์ในการนับ ในตัวอย่างนี้ เราได้บอกไว้แล้วที่ C1:B2 สำหรับ Database และ Criteria ถ้าไม่ต้องการพิมพ์เข้าไปโดยตรง อาจจะคลิกที่รูป และใช้เมาส์เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการ ก็ได้
เมื่อกดปุ่ม OK จะได้เท่ากับ 4 นั่นแสดงว่า มีคน จำนวน 4 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และมีเงินเดือนตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไป จำนวน 4 คน
2.การหาช่วงอายุ
จากข้อมูลเดิม จะเห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามกรอกอายุจริืง ในการนำผลไปวิเคราะห์มักจะวิเคราะห์เป็นช่วงอายุ เช่น อายุต่ำกว่า 25 ปี กี่คน อายุ ระหว่าง 25-29 ปี กี่คน เป็นต้น ตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นการนำข้อมูลเดิมมาวิเคราะห์อายุ เป็นช่วง ๆ ดังนี้
อายุ น้อยกว่า 25 ปี
อายุ 25-29 ปี
อายุ 30-39 ปี
อายุ 40 ปี ขึ้นไป (ไฟล์ exercise_dcount_age.xls)
หลักการ
ใช้ฟังก์ชั่น Dcount เหมือนข้างต้น แต่กำหนดเงื่อนไขเสียใหม่ โดยกำหนดเงื่อนไขเป็นช่วง ๆ ตามต้องการ
วิธีการ
เปิด Sheet ใหม่
พิมพ์ข้อมูล A4:D14 หรือจะ Copy มาก็ได้
ในช่วง A16:D24 ให้พิมพ์เกณฑ์การนับ และส่วนที่จะรายงานผล ดังนี้
คลิกที่ C21 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,A16:A17)
คลิกที่ C22 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,A16:B16:C17)
คลิกที่ C23 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,A16:A18:ฺB19)
คลิกที่ C24 และพิมพ์ที่ Formular ดังนี้ =DCOUNT(A4:D14,3,C18:C19)
จะเห็นว่า เราใช้สูตรเดียวกัน ต่างกันที่เงื่อนไขเท่านั้น ผลลัพธ์ที่ได้ คืิอ
3.การตัดเกรดนักเรียน(grading.xls)
คุณครูสามารถใช้โปรแกรม Excel ในการกรอกคะแนน และรวมคะแนน โดยไม่ต้องใช้เครื่องคิดเลข นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ Excel ทำอะไรได้อีกหลายอย่าง ตัวอย่างต่อไปนี้จะเป็นการใช้ Excel สำหรับตัดเกรดนักเรียน แบบอิงเกณฑ์ โดยการนำคะแนนไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ ว่า คะแนนตกอยู่ในเกณฑ์ใด ควรจะได้เกรดอะไร
หลักการ
ใช้ฟังก์ชั่น Vlookup เปรียบเทียบข้อมูล ฟังก์ชั่น Vlookup จะนำข้อมูลจาก cell ใด cell หนึ่ง ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลในตาราง และถ้าพบ ก็จะคืนค่าในคอร์ลัมน์ ทางด้านขวามือ ของค่าที่ถูกเปรียบเทียบในตาราง และสามารถระบุว่า จะให้คืนค่าจากคอร์ลัมน์ใด การเปรียบเทียบทำได้สองอย่างคือ เปรียบเทียบแบบเหมือนกันทุกประการ และเปรียบเทียบแบบใกล้เคียง
ฟังก์ชั่น Vlookup มีรูปแบบการใช้ ดังนี้
Vlookup (lookup_value,table_array,col_index_num,range_lookup)
lookup_value
คือค่าที่จะนำไปเปรียบเทียบ ในที่นี้คือคะแนนของนักเรียนแต่ละคน การอ้างถึงใช้ตำแหน่งของ Cell เช่้น A3
table_array
คือตารางข้อมูลที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ในที่นี้คือเกณฑ์ในการตัดเกรด เช่น คะแนนต่ำกว่า 50 ได้ 0 คะแนน 50-69 ได้ 1 เป็นต้น แต่ต้องเขียนอยู่ในรูปตาราง ในกรณีการตัดเกรด จะเป็นการเปรียบเทียบคะแนนแบบใกล้เคียง จะต้องมีการเรียงข้อมูล จากน้อยไปหามาก แต่ถ้าเป็นการเปรียบเทียบแบบเหมือนกันทุกประการ ก็ไม่จำเป็นต้องเรียงข้อมูลในตารางที่จะใช้เป็นเกณฑ์
col_index_num
เป็นตัวเลขตำแหน่งแถวที่จะคืนค่า ถ้าหากพบว่าเป็นไปตามเกณฑ์การเปรียบเทียบ คอร์ลัมน์แรกของตารางที่ใช้เป็นเกณฑ์การเปรียบเทียบคือ คอร์สัมนืที่ 1 ดังนั้น ค่าที่คืน จึงเป็นคอร์ลัมน์ที่ 2 หรือ 3 หรือ 4 ในกรณีที่ตารางมีหลายคอร์ลัมน์
range_lookup
มี 2 ค่า คือจริง หรือ TRUE และ เท็จ หรือ FALSE
ถ้าเป็นจริง หรือ TRUE คือต้องการให้เปรียบเทียบแบบใกล้เคียง นั่นคือ Excel จะนำค่ามาเปรียบเทียบกับค่าในตารางที่ใช้เป็นเกณฑ์ ถ้าไม่พบค่าที่เท่ากัน ก็จะถือเอาค่าตัวต่อไปที่ใกล้เคียงที่สุด ที่มีค่าน้อยกว่าค่าที่นำมาเปรียบเทียบ
ถ้าเป็นเท็จ หรือ FALSE คือต้องเป็นการเปรียบเทียบที่เหมือนกัน หรือ เท่ากันเท่านั้น
ถ้าไม่เติม จะถือว่ามีค่าเป็นจริง
วิธีการ
เปิดโปรแกรม Excel ใหม่ และพิมพ์ข้อมูลคะแนนนักเรียน ดังต่อไปนี้
ที่ E1:F6 ให้พิมพ์เกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ดังนี้
เนื่องจากเป็นการเปรียบเทียบแบบใกล้เคียง การเปรียบเทียบจะใช้ ค่าที่ใกล้เคียงที่สุด ซึ่งน้อยกว่าค่าที่นำไปเปรียบเทียบ
สมมติว่า สุดา ได้คะแนน 58 เมื่อนำคะแนน 58 ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ จะเห็นได้ว่า ค่าที่ใกล้เคียงกับ 58 ซึ่งจะต้องเป็นค่าที่น้อยกว่า 58 ก็คือ 50 เพราะถึงแม้ว่าจะใกล้กับ 60 ก็ตาม แต่ 60 มีค่ามากกว่า 58 ด้งนั้น ในการเปรียบเทียบจึงใช้ค่า 50 เพราะเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับ 58 มากที่สุดและมีค่าน้อยกว่า 58 ด้วย เมื่อดูเกรด ก็จะพบว่า ได้เกรดเป็น 1 เพราะในการสั่ง VLOOKUP เราใช้ค่้าทางด้านขวามือ ของค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบ
ดังนั้น จากเกณฑ์ในตาราง แสดงว่า มีการตัดเกรด ดังนี้

คะแนนต่ำกว่า 50 ได้เกรด 0
50-59 ได้เกรด 1
60-79 ได้เกรด 2
80-89 ได้เกรด 3
90-100 ได้เกรด 4
ต่อไปจะคิดเกรดของ สมถวิล ให้คลิกที่ C2 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะนำเกรดมาแสดง
เพื่อความสะดวกในการอ้างอิงตำแหน่ง เราจะตั้งชื่อตำแหน่งของตารางว่าเป็น criteria โดยทำดังนี้
ลากดำ E2:F6 (ไม่รวม ชื่อคอร์ลัมน์)
ไปที่ Insert > Name > Define...
พิมพ์ชื่อ criteria
คลิก Add และคลิก OK ตามลำดับ
ต่อจากนี้ไป เราจะอ้างถึงตำแหน่งที่เป็นตารางเกณฑ์การคิดเกรดว่าเป็น criteria
ที่ช่อง Formula bar ให้พิมพ์ดังนี้
$B2
เป็นการอ้างถึงตำแหน่งข้อมูล ที่เป็นคะแนนของนักเรียน ในกรณีนี้ เนื่้องจากว่าคะแนนอยู่ในคอร์ลัมน์ B จึงอ้างอิงแบบ Absolute Referencing เพื่อไม่ให้ค่าเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมีการคัดลอกสูตร
criteria
คือข่วงตารางเกณฑ์ที่จะนำไปเปรียบเทียบ ตารางมี 2 คอร์ลัมน์ คอร์ลัมน์ที่ 1 เป็นค่าที่จะนำคะแนนมาเปรียบเทียบ ส่วนคอร์ลัมน์ที่ 2 เป็นค่าที่จะส่งคืนว่าได้เกรดอะไร
2
เป็นตัวเลขตำแหน่งแถวที่จะคืนค่า คือ เกรด นั่นเอง
TRUE
ต้องการให้เปรียบเทียบแบบใกล้เคียง เพราะคะแนนของนักเรียนส่วนใหญ่จะไม่เท่ากับเกณฑ์หรือ จุดตัดคะแนนที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องให้เป็นการเปรียบเทียบแบบใกล้เคียง คือ จะนำคะแนนมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในตารางคอร์ลัมน์แรก ถ้าไม่พบ ก็จะเอาค่าที่ใกล้เคียงที่สุด ที่มีค่าน้อยกว่าคะแนนที่นำมาเปรียบเทียบ ดังนั้น สมมุติว่า นำคะแนน 75 มาหาเกรด จะพบว่า คะแนน 75 ใกล้เคียงกับ 60 มากที่สุด เพราะ 80 เป็นคะแนนที่มากกว่า 75 ดังนั้น เกรดที่ได้ หรือค่าที่ส่งคืนไป จึงเท่ากับ 2
กดเครื่องหมายถูก สีเขียว จะเห็นเกรด 1 ปรากฎที่ C2 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ระบุไว้ตั้งแต่แรก
ทำการคัดลอกสูตร มาไว้จาก C3 จนถึง C6
เมื่อปล่อยเมาส์ เกรดของนักเรียนทุกคนตามเกณฑ์ที่กำหนด จะปรากฎให้เห็นทันตา นี่คือการทำงานที่รวดเร็ว และทุ่นแรง ของ Excel
การพิมพ์ใบเสร็จแบบเติมข้อมูลโดยอัตโนมัติ(receipt.xls)
การออกใบเสร็จ มักจะเป็นการพิมพ์ชื่อสินค้าและรายละเอียดของสินค้าซ้ำแล้วซ้ำอีก วิธีที่จะให้คอมพิวเตอร์ช่้วยพิมพ์ในส่วนชื่อและรายละเอียด เช่น ราคาขายต่้อหน่วย ก็สามารถทำได้ โดยเพียงแต่พิมพ์รหัสสินค้าเข้าไปเท่านั้น โปรแกรม Excel สามารถไปค้นหารายการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นำมาแสดงได้ในใบเสร็จทันที ทุ่นแรงไปมาก ไม่ต้องพิมพ์ให้เสียเวลา
หลักการ
ใช้ฟังก์ชั่น Vlookup เพื่อหาข้อมูลจากในตาราง แล้วนำมาแสดงในแบบฟอร์มใบเสร็จ ในการกรอกข้อมูลในใบเสร็จ จะพิมพ์เฉพาะ รหัสสินค้า แล้วเขียนสูตรให้ Excel นำเลขรหัสนี้ ไปค้นหาในตาราง ซึ่งมีรายละเอียด ของสินค้า แต่ละชนิด เช่น ชื่อ และราคาต่้อหน่วย การไปค้นหา จะค้นหาแบบ เหมือนกันทุกประการ เพราะต้องเป็นรหัส ที่เหมือนกับรหัส ของสินค้า ชนิดนั้น ๆ เท่านั้น เมื่อพบแล้ว ก็จะนำข้อมูลมาใส่ในใบเสร็จให้โดยอัตโนมัติ
วิธีการ
เปิด Excel และที่ A1:C1 พิมพ์ รหัส รายการ และ ราคา/หน่วย ตามลำดับ
ที่ F1:H5 พิมพ์รายการสินค้า ในตัวอย่างนี้ สมมติว่ามีสินค้าจำนวน 4 รายการ ดังนี้
เราจะตั้งชื่อตารางรายการสินค้าว่า Products
ลากดำ F2:H5 (ไม่รวม ชื่อคอร์ลัมน์)
ไปที่ Insert > Name > Define...
พิมพ์ชื่อ products
คลิก Add และคลิก OK ตามลำดับ
ช่อง A2 จะเป็นที่สำหรับเขียนรหัสสินค้า ช่อง B2 เราจะเขียนสูตรให้เอารหัสสินค้า ไปเปรีัยบเทียบในตาราง และนำชื่อของสินค้าที่ตรงกับรหัสนี้ มาไว้ที่นี่ ส่วนช่อง C2 ก็จะเขียนสูตรให้เอารหัสสินค้า ไปเปรียบเทียบกับตาราง และนำเอาราคา ของสินค้านี้ มาไว้ที่นี่
สูตร สำหรับช่อง B2 คือ =VLOOKUP($A2,products,2,TRUE)
ปัญหาเกิดตรงที่ว่า ถ้าในคอร์ฺลัมน์ A ไม่มีข้อมูล ผลที่ได้ในช่องรายการของแถวนั้น ๆ จะมีค่า เป็น #N/A เพราะโปรแกรมไม่รู้จะเอาอะไรไปเปรียบเทียบกับข้อมูล ดังภาพ
เราสามารถขจัด #N/A ออกไปได้ โดยการตรวจสอบก่้อนว่า ที่ช่อง A2 มีอะไรอยู่้หรือไม่ ถ้าไม่มี ก็ให้พิมพ์ช่องว่าง ในช่้องนี้ (ช่อง B2) แต่ถ้ามี ก็ให้นำสิ่งที่อยุ่ในช่อง A2 ไปเปรียบเทียบกับรหัสสินค้า และนำชื่อสินค้า มาไว้ที่นี่ (ช่อง B2)
การตรวจสอบ เราใช้ ฟังก์ชั่น IF ตรวจสอบ
IF(logical_test, value_if_true, value_if_false)
logical_test
คือเงื่อนไขสำหรับการตรวจสอบ ในที่นี้เราจะตรวจสอบว่า ช่อง A1 ไม่มีอะไร หรือเขียนได้ว่า A1=""
value_if_true
ส่วนนี้จะทำงาน ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง นั่นคือถ้าช่อง A1ไม่มีอะไร ก็ให้พิมพ์ช่องว่างเฉย ๆ ซึ่งทำได้โดยให้พิมพ์ เครื่องหมายคำพูด 2 อัน คือ ""
value_if_false
ส่วนนี้จะทำงาน ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จ หรือในกรณีนี้คือ ช่อง A1 มีข้อความอะไรอยู่ หรือมีการพิมพ์รหัสสินค้าในช่อง A1 แล้ว ดังนั้น ส่วนนี้จึงให้ไปใช้สูตร Vlookup ข้างต้น โดยเขียนอย่างเต็ม ๆ ว่า VLOOKUP($A2,products,2,TRUE)ขอให้สังเกตว่า ในแต่ละส่วน จะต้องคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า ด้วย สูตรของช่อง B2 จึงมีดังนี้ =IF($A2="","",VLOOKUP($I8,products,2,TRUE))
โดยสรุป เมื่อคลิกช่อง B2 แล้ว ให้เขียนในช่อง Formula bar ดังนี้
คลิกเครื่องหมายถูก หน้า formular bar
คัดลอกสูตรในช่อง B2 ไปถึงช่อง B5
ทดสอบพิมพ์รหัสสินค้า A001 ในช่อง A1 และ A003 ในช่อง A2 จะได้ผลดังนี้
สูตรสำหรับช่อง C2 ซึ่งเป็นราคาต่อหน่วยของสินค้านั้น ๆ ก็ทำในทำนองเดียวกัน
สูตรของช่อง C2 คือ =IF($A2="","",VLOOKUP($A2,products,3,TRUE))
จะสังเกตเห็นได้ว่า คล้ายกับสูตรในช่อง B2 ต่างกันตรงที่ข้อมูลที่จะส่งคืนมาเท่านั้น ในขณะที่ B2 ต้องการชื่อสินค้า แต่ช่อง C2 ต้องการราคาสินค้า
คัดลอกสูตรในช่อง C2 ไปจนถึงช่อง C5
เป็นอันเสร็จการสร้างใบเสร็จที่พิมพ์เฉพาะรหัสสินค้า แล้ว Excel ไปค้นหาข้อมูลมาใส่ให้
ทดสอบโดยการพิมพ์รหัส ลงในช่องรหัส แล้วกด ENTER จะมีชื่อสินค้า และ ราคา เกิดขึ้นทันที
4.การพิมพ์ิ ตัวเลขเป็นตัวหนังสือ(receipt2.xls)
ในใบเสร็จรับเงิน หรือข้อความที่เกี่ยวกับการเงิน มักจะมีการวงเล็บจำนวนเงินเป็นภาษาไทย ตัวอย่างต่อไปนี้ จะใช้ตัวอย่้างใบเสร็จมาเพิ่มเติม ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีการพิมพ์ตัวอักษรจำนวนเงิน ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงยอดเงิน ก็ให้ตัวเลขเปลีั่ยนแปลงตามไปด้วย
หลักการ
เราใช้ฟังก์ชั่น BAHTTEXT() เพื่อเปลี่ยนตัวเลขเป็นตัวอักษร
BAHTTEXT(number)
number
เป็นตัวเลขจำนวนเงิน ซึ่งสามารถมีจุดทศนิยมได้ ในตัวอย่างนี้ เราจะอ้างอิงโดยการใส่ตำแหน่งของ ตัวเลขจำนวนเงิน ที่คำนวณได้ ซึ่งจะทำให้ตัวหนังสือเปลี่ยนแปลงได้ ถ้ามีการเปลี่ยนตัวเลขจำนวนเงิน
วิธีการ
เปิดไฟล์ Excel ใหม่
สร้างรายการข้อมูลสินค้า ในช่วง H1:J5 พร้อมทั้งกรอกข้อมูล ดังนี้
ตั้งชื่อตารางข้อมูลในช่วง H1:J5 ว่า products (ดูวิธีการตั้งชื่อจากตัวอย่างก่อนหน้านี้)
ที่ A1:E1 ให้พิมพ์หัวของใบเสร็จ ดังภาพ
ที่ ช่อง B2 ให้พิมพ์สูตรเพื่อหา ชื่อสินค้า จากตาราง ดังนี้
=IF($A2="","",VLOOKUP($A2,products,2,TRUE))
ที่ ช่อง C2 ให้พิมพ์สูตรเพื่อหา ราคาของสินค้า จากตาราง ดังนี้
=IF($A2="","",VLOOKUP($A2,products,3,TRUE))
ให้่คัดลอกสูตรในช่อง B2 ไปจนถึงช่อง B5
ให้่คัดลอกสูตรในช่อง C2 ไปจนถึงช่อง C5
เขียนสูตรให้รวมเงิน ในช่อง E2 ดังนี้
=IF($C2="","",C2*D2)
ให้คัดลอกสูตรในช่อง E2 ไปจนถึง E5
ช่อง E6 เป็นการรวมเงินทั้งหมด ให้เขียนสูตรรวม คือ =SUM(E2:E5)
ช่อง B6 พิมพ์คำว่า รวมทั้งสิ้น
ช่อง B7 จะเป็นการแปลงตัวเลขที่รวมได้ในช่อง E6 เป็นเงินบาท โดยเขียนสูตรที่ช่อง B7 ดังนี้
=BAHTTEXT(E6)
ถ้าต้องการเครื่องหมายวงเล็บคร่อม ให้เขียนสูตรในช่อง B7 ดังนี้
="(" & BAHTTEXT(E6) & ")"
เมื่อเสร็จแล้ว จะได้ผลลัพธ์ดังนี้

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ข้อสอบ 5 ข้อ ของGoogle

1.Googleมาจากคำว่า googleในทางคณิตศาสตร์หมายถึงอะไร
ก.เลข ๑ ตามด้วยศูนย์อีก ๑00 ตัว
ข.เลข ๒ ตามด้วยศูนย์อีก ๒00ตัว
ค.เลข ๓ ตามด้วยศูนย์อีก ๓00ตัว
ง.เลข ๔ ตามด้วยศูนย์อีก ๔00ตัว
เฉลย ก.เลข ๑ ตามด้วยศูนย์อีก ๑00 ตัว
2.Back Rub หมายถึงอะไร
ก.ความสามารถพิเศษที่สามารถเข้าไปวิเคราะห์ black linksที่เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่างๆ
ข.ความสามารถที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล
ค.ความสามารถในการแปลข่าวสาร
ง.ความาสามารถในการส่งและรับข้อมูล
เฉลย ก.ความสามารถพิเศษที่สามารถเข้าไปวิเคราะห์ black linksที่เชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ต่างๆ
3. ใครเป็นผู้ก่อตั้ง google เป็นครั้งแรก
ก. wemonrat
ข.Larry Page และ Sergey Brin
ค.sompongและ sunee
ง.saweeka และ weepa
เฉลย ข.Larry Page และ Sergey Brin
4.Black Rub เริ่มมีชื่อเสียงในช่วง คศ ใค
ก.1995
ข.1996
ค.1997
ง.1998
เฉลย ข.1996
5.Google แยกฐานข้อมูลออกเป็นกี่หมวด
ก. 4 หมวด
ข. 5 หมวด
ค. 6 หมวด
ง. 7 หมวด
เฉลย ก. 4 หมวด

พิมพ์สัมผัส ฟหกด่าสว

บทที่ 1
การพิมพ์อักษรแป้นเหย้า ฟ ห ก ด่ า ส ว
กั้นหน้า 2 นิ้วและหลัง 1 นิ้ว ฝึกพิมพ์อักษรแป้นเหย้าประจำนิ้วตามแผนผัง เรียงตามลำดับจากนิ้วก้อยซ้ายไปนิ้วก้อยขวาฝึกพิมพ์จนคล่อง สามารถจำได้แม่นยำอย่างน้อย 1 หน้า จงจำไว้ว่า สายตาต้องมองอยู่ในแบบฝึกหัดเท่านั้น อย่าหันกลับไปมองที่แป้นอักษรในกระดาษที่เครื่องพิมพ์เด็ดขาด อ่านคำสั่งก่อนพิมพ์ทุกครั้งปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
บทที่ 2
การพิมพ์อักษรแป้น เ ง้
การก้าวนิ้ว ตามปกตินิ้วจะต้องวางอยู่ที่แป้นเหย้าประจำ แต่เมื่อต้องการพิมพ์แป้นอักษรอื่น ที่ไม่ใช่แป้นเหย้าให้ก้าวนิ้วไปที่ละนิ้ว เมื่อพิมพ์เสร็จแต่ละนิ้วให้ดึงนิ้วกลับแป้นเหย้าประจำนิ้วทันที
การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้า
แป้น เ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ไปทางขวาดีดที่แป้น เ
แป้น ไม้โท ก้าวนิ้วชี้ขวา ไปทางซ้ายดีดที่แป้น ไม้โท
แป้น ง ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ไปทางขวาดีดที่แป้น ง
บทที่ 3
การพิมพ์อักษรแป้น พ ะ อี อะ อำ ร
การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้า
แป้น พ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ไปดีดที่แป้น พ
แป้น ะ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ไปดีดที่แป้น ะ
แป้น อี ก้าวนิ้ว ชี้ขวา ไปดีดที่แป้น อี
แป้น อำ ก้าวนิ้ว กลางซ้าย ขึ้นไปดีดที่แป้น อำ
แป้น ร ก้าวนิ้ว กลางขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น ร
บทที่ 4
การพิมพ์อักษรแป้น อ อิ ท อือ แ ม
การก้าวนิ้ววางนิ้วทั้งหมดไวที่แป้นเหย้า
แป้น อ ก้าวนิ้ว ชื้ซ้าย ลงมาดีดที่แป้น อ
แป้น อิ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ลงมาดีดที่แป้น อิ
แป้น ท ก้าวนิ้ว ขวาลง มาดีดที่แป้น ท
แป้น อือ ก้าวนิ้ว ชี้ขวา ลงมาดีดที่แป้น อือ
แป้น แ ก้าวนิ้ว กลางซ้าย ลงมาดีดที่แป้น แ
แป้น ม ก้าวนิ้ว กลางขวา ลงมาดีดที่แป้น ม
บทที่ 5
การพิมพ์อักษรแป้น ไ ป น ใ ๆ ผ ย
การกางนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้า
แป้น ไ ก้าวนิ้ว นางซ้าย ขึ้นไปดีดที่แป้น ไ
แป้น ป ก้าวนิ้ว นางซ้าย ลงมาดีดที่แป้น ป
แป้น น ก้าวนิ้ว นางขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น น
แป้น ใ ก้าวนิ้ว นางขวา ลงมาดีดที่แป้น ใ
แป้น ๆ ก้าวนิ้ว ก้อยซ้าย ขึ้นไปดีดที่เเป้น ๆ
แป้น ผ ก้าวนิ้ว ก้อยซ้าย ลงมาดีดที่แป้น ผ
แป้น ย ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น ย
บทที่ 6
การพิมพ์อักษรแป้น บ ล ฝ -
การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้า
แป้น บ ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น บ
แป้น ล ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น ล
แป้น ฝ ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ลงมาดีดที่แป้น ฝ
แป้น - ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ไปทางขวาดีดที่แป้น -
บทที่ 7
การพิมพ์อักษรแป้น ถ ภ ค ต อึ อุ
การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้า
แป้น ถ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ขึ้นไปดีดที่แป้น ถ
แป้น ภ ก้าวนิ้ว กลางซ้าย ขึ้นไปดีดที่แป้น ภ
แป้น ค ก้าวนิ้ว ชี้ขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น ค
แป้น ต ก้าวนิ้ว กลางชวา ขึ้นไปดีดที่แป้น ต
แป้น อือ ก้าวนิ้ว ชี้ขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น อือ
แป้น อุ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ขึ้นไปดีดที่แป้น อุ
บทที่ 8
การพิมพ์อักษรแป้น จ ข ช - /
การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้า
แป้น จ ก้าวนิ้ว นางขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น จ
แป้น ข ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น ข
แป้น ช ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีดที่แป้น ช
แป้น - ก้าวนิ้ว นางซ้าย ขึ้นไปดีดที่แป้น -
แป้น / ก้าวนิ้ว ก้อยซ้าย ขึ้นไปดีดที่แป้น /
บทที่ 9
การพิมพ์อักษรแป้น โ ฌ ๘ + ฑ ธ ๗ ณ
การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้า
แป้น โ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ แล้วใช้นิ้ว ชี้ซ้าย ดีดแป้น โ แป้นเดียวกับแป้นเหย้า
แป้น ฌ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ไปทางขวาแป้น ฌ แป้นเดียวกับ เ
แป้น ๘ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ใช้นิ้ว ชี้ขวา ไปทางซ้ายดีดแป้น ๘แป้นเดียวกับ ไม้โท
แป้น+ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ แล้วใช้นิ้ว ชี้ขวา ดีดแป้น +แป้นเดียวกับแป้นเหย้า
แป้น ฑ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น ฑ แป้นเดียวกับ พ
แป้น ธ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น ธ แป้นเดียวกับสระ
แป้น ๗ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ขวา ขึ้นไปดีดแป้น ๗ แป้นเดียวกับ สระอี
แป้น ณ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว กลางขวา ขึ้นไปดีดแป้น ณ แป้นเดียวกับ ร
บทที่ 10
การพิมพ์อักษรแป้น ฎ ฏ ษ ฆ " ศ ฯการก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้าแป้น ฎ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว กลางซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น ฎ แป้นเดียวกันแป้น ฏ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ แล้วใช้นิ้ว กลางซ้าย ดีดแป้น ฏ แป้นเดียวกับแป้นเหย้าแป้น ษ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ แล้วใช้นิ้ว กลางขวา ดีดแป้น ษ แป้นเดียวกับแป้นเหย้าแป้น ฆ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ แล้วใช้นิ้ว นางซ้าย ดีดแป้น ฆ แป้นเดียวกับแป้นเหย้าแป้น " ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว นางซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น " แป้นเดียวกับแป้นเหย้าแป้น ศ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ แล้วใช้นิ้ว นางขวา ดีดแป้น ศ แป้นเดียวกับแป้นเหย้าแป้น ฯ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว นางขวา ขึ้นไปดีดแป้น ฯ แป้นเดียวกับแป้นเหย้า บทที่ 11
การพิมพ์อักษรแป้น ฮ ฉ ฒ อู อั้ การรันต์ ?การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้าแป้น ฮ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้วชี่ซ้าย ลงมาดีดแป้น ฮ แป้นเดียวกับ อแป้น ฉ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้วกลางซ้าย ลงมาดีดแป้น ฉ แป้นเดียวกับแป้นกับ แแป้น ฒ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วกลางขวา ลงมาดีดแป้น ฒ แป้นเดียวกับ มแป้น อู ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้วชี้ซ้าย ขึ้นไปดีด อู แป้นเดียวกับ อุ แป้น อั้ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วชี้ขวา ขึ้นไปดีดแป้น อั้ แป้นเดียวกับแป้น อีแป้น การันต์ ใช้นิ้วก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วชี้ขวา ลงมาดีดแป้น การันต์ แป้นเดียวกับ อืแป้น ? ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วชี้ขวา ลงมาดีดแป้น ? แป้นเดียวกับ ท บทที่ 12
การพิมพ์อักษรแป้น ฤ ( ) ฬ ซ ญ ฦ ฐการก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้าแป้น ฤ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ แล้วใช้นิ้วก้อยซ้าย ดีดแป้น ฤ แป้นเดียวกับแป้นเหย้าแป้น ( ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้วซ้าย ลงมาดีดแป้น ( แป้นเดียวกับ ผแป้น ) ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้วนางซ้าย ลงมาดีดแป้น ) แป้นเดียวกับ ปแป้น ฬ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วนางขวา ลงมาดีดแป้น ฬ แป้นเดียวกับ ใแป้น ซ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ แล้วใช้นิ้วก้อยขวา ดีดแป้น ซ แป้นเดียวกับแป้นเหย้าแป้น ญ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วก้อยขวา ขึ้นไปดีดแป้น ญ แป้นเดียวกับ ยแป้น ฦ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วก้อยขวา ลงมาดีดแป้น ฦ แป้นเดียวกับ ฝแป้น ฐ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้วก้อยขวา ขึ้นไปดีดแป้น ฐ แป้นเดียวกับ บ บทที่ 13
การพิมพ์อักษรแป้น 3 4 5 6 อํ อฺ .การก้าวนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้าแป้น 3 ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว กลางซ้าย ขึ้นไปดีด 3 แป้นเดียวกับ ภแป้น 4 ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น 4 แป้นเดียวกับ ถแป้น 5 ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ขวา ขึ้นไปดีดแป้น 5 แป้นเดียวกับ คแป้น 6 ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว กลางขวา ขึ้นไปดีดแป้น 6 แป้นเดียวกับ อุแป้น อํ ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ขวาขึ้น ไปดีดแป้น อํ แป้นเดียวกับ อัแป้น . ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ก้อยขวาไปทางขวาดีดแป้น อฺ แป้นเดียวกับ งแป้น อฺ ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ชี้ซ้าย ลงมาดีดแป้น อฺ แป้นเดียวกับ อิ บทที่ 14
การพิมพ์อักษรแป้น 0 1 2 7 8 9 , %การวางนิ้ว วางนิ้วทั้งหมดไว้ที่แป้นเหย้าแป้น 0 ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ก้อยซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น 0 แป้นเดียวกับ ๆแป้น 1 ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ก้อยซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น 1 แป้นเดียวกับ /แป้น 2 ใช้นิ้ว ก้อยขวา ยกแคร่ ก้าวนิ้ว นางซ้าย ขึ้นไปดีดแป้น 2 แป้นเดียวกับ -แป้น 7 ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว นางขวา ขึ้นไปดีดแป้น 7 แป้นเดียวกับ จแป้น 8 ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีดแป้น 8 แป้นเดียวกับ ขแป้น 9 ใช้นื้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีด 9 แป้นเดียวกับ ชแป้น , ใช้นิ้ว ก้อยซ้าย ยกแคร่ ก้าวนิ้ว ก้อยขวา ขึ้นไปดีดแป้น , แป้นเดียวกับ ลแป้น % ใช้นิ้วก้อยซ้ายยกแคร่ก้าวนิ้วก้อยขวาไปทางขวาดีดแป้น % แป้นเดียวกับ -

ข้อสอบ 15 ข้อ ของHTML

1. HTML ย่อมาจากข้อใด
ก. Hyper Text Markup Language
ข. Hyper Text Makeup Language
ค. Hypermedia Text Markup Language
ง. Hidden Text Markup Language
เฉลย ก. Hyper Text Markup Language
2.เอกสาร HTML ปกติจะมีนามสกุลตามข้อใด
ก. HTM
ข. HTML
ค. THML
ง. ก และ ข ถูก
เฉลย ง. ก และ ข ถูก
3.โปรแกรมใดที่ใช้สร้างเอกสาร HTML ไม่ได้
ก. Edit Plus
ข. Notepad
ค. Microsoft word
ง. Photoshop
เฉลย ค. Microsoft word
4.เอกสารHTML ที่จะใช้ในการแสดงหน้าเว็บเพจต่างๆจะเก็บไว้ที่ใด
ก. Internet
ข. Client
ค. Server
ง. Browser
เฉลย ค. Server
5.โปรแกรมที่ใช้สำหรับดูหน้าเว็บเพจคือโปรแกรมอะไร
ก. Internet
ข. Browser
ค. Homepage
ง. Interpreter
เฉลย ข. Browser
6.การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอลชนิดใด
ก. FTP
ข. WWW
ค. Telnet
ง. HTTP
เฉลย ง. HTTP
7.Internet Explorer , Netscape Communicator เป็นโปรแกรมชนิดใด
ก. Internet
ข. IRC
ค. Browser
ง. Text Editor
เฉลย ข. IRC
8.ภาษา HTML แบ่งโครงสร้างออกเป็นกี่ส่วน
ก. 1
ข. 2
ค. 3
ง. 4
เฉลย ข. 2
9.การเขียนข้อความเพื่อให้ปรากฏบนไตเติ้ลบาร์ของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์จะต้องเขียนไว้ส่วนใด
ก. ส่วนหัว
ข. ส่วนเนื้อหา
ค. ส่วนกำหนดชนิดข้อมูล
ง. ส่วนหมายเหตุ
เฉลย ก. ส่วนหัว
10. เนื้อหาที่ต้องการแสดงเว็บเพจจะต้องเขียนไว้ที่ส่วนใด
ก. ส่วนหัว
ข. ส่วนเนื้อหา
ค. ส่วนข้อกำหนด
ง. ส่วนหมายเหตุ
เฉลย ข. ส่วนเนื้อหา
11. คำสั่งที่ใช้แทรกไฟล์ HTML หรือไฟล์อื่นๆลงในไฟล์ HTML อีกไฟล์คือคำสั่งอะไร
ก NOFRAME
ข FRAME
ค FRAMESET
ง IFRAME
เฉลย ง IFRAME
12.ข้อใดไม่ใช่คำสั่งหลักในการสร้างเฟรม
ก FRAMESET
ข NOFRAME
ค FRAME
ง FRAME SIZE
เฉลย ง FRAME SIZE
13 คำสั่ง FRAMESET มีอยู่กี่ประเภท
ก 2 ประเภท
ข 3 ประเภท
ค 4 ประเภท
ง 5 ประเภท
เฉลย ก 2 ประเภท
14. คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดสีของ Background คือคำสั่งใด :
ก FONT COLOR
ข BGCOLOR
ค TEXTCOLOR
ง FONT SIZE
เฉลย ก FONT COLOR
15.ข้อใดเป็นคำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่ :
ก H1
ข HR
ค CENTER
ง BR
เฉลย ข HR

ความหมายของ HTML

ความหมายของ HTML
HTML หรือ HyperText Markup Language เป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วย
HTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย
Tag
Tag เป็นลักษณะเฉพาะของภาษา HTML ใช้ในการระบุรูปแบบคำสั่ง หรือการลงรหัสคำสั่ง HTML ภายในเครื่องหมาย less-than bracket ( < ) และ greater-than bracket ( > ) โดยที่ Tag HTML แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
Tag เดี่ยวเป็น Tag ที่ไม่ต้องมีการปิดรหัส เช่น เป็นต้น
Tag เปิด/ปิดเป็น Tag ที่ประกอบด้วย Tag เปิด และ Tag ปิด โดย Tag ปิด จะมีเครื่องหมาย slash ( / ) นำหน้าคำสั่งใน Tag นั้นๆ เช่น ?, ? เป็นต้น
Attributes
Attributes เป็นส่วนขยายความสามารถของ Tag จะต้องใส่ภายในเครื่องหมาย < > ในส่วน Tag เปิดเท่านั้น Tag คำสั่ง HTML แต่ละคำสั่ง จะมี Attribute แตกต่างกันไป และมีจำนวนไม่เท่ากัน การระบุ Attribute มากกว่า 1 Attribute ให้ใช้ช่องว่างเป็นตัวคั่น เช่น Attributes ของ Tag เกี่ยวกับการจัดพารากราฟ คือ ประกอบด้วย ALIGN="Left/Right/Center/Justify"

ประวัติ Google

ประวัติ Google
กูเกิลเริ่มก่อตั้งเมื่อ มกราคม พ.ศ. 2539 จากโครงงานวิจัยสำหรับดุษฎีนิพนธ์ของ แลร์รี เพจ และเซอร์เกย์ บริน นักศึกษามหาวิทยาลัยปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[6] จากสมมุติฐานของเสิร์ชเอนจินที่สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของของเว็บไซต์ มาจัดอันดับการค้นหาที่เรียกว่าเพจแรงก์ โดยชื่อเสิร์ชเอนจินที่ตั้งมาในตอนนั้นชื่อว่า "แบ็กรับ" (BackRub) ตามความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลการลิงก์ย้อนกลับไป (back links) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของแต่ละเว็บไซต์[7] โดยเว็บไซต์ที่มีเว็บไซต์อื่นลิงก์เข้ามาหามากที่สุด จะเป็นเว็บไซต์ที่มีความสำคัญสูงสุด และจะถูกจัดอันดับไว้ดีกว่า โดยทั้งคู่ได้ทดสอบเสิร์ชเอนจิน โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ของมหาวิทยาลัยสแตนพอร์ดในชื่อโดเมนว่า google.stanford.edu[8] และต่อมาได้จดทะเบียนบริษัทกูเกิล (Google Inc.) ในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2541 โดยใช้โรงจอดรถของเพื่อนที่เมืองเมนโรพาร์กเป็นสำนักงาน[1] โดยในขณะนั้นมีพนักงาน 4 คนซึ่งรวมบรินและเพจ และชื่อโดเมน google.com ได้ถูกจดทะเบียนเมื่อวันที่ 15 กันยายน ในขณะเดียวกันทั้งคู่ได้ลาพักการเรียน และใช้เวลาในการพัฒนาหาเงินทุนพัฒนาจากครอบครัว เพื่อนฝูง และนักลงทุน เป็นจนวนเงินกว่า 1.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงเช็กเงินจาก แอนดี เบกโทลไชม์ ผู้ก่อตั้งซันไมโครซิสเต็มส์
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 บริษัทได้ย้ายไปยังเมืองแพโลอัลโทที่ตั้งของบริษัทคอมพิวเตอร์หลายแห่ง ซึ่งต่อมากูเกิลได้ย้ายบริษัทอีกครั้งไปยังเมืองเมาน์เทนวิว ไปยังสำนักงานใหม่ในชื่อเล่นว่ากูเกิลเพล็กซ์ ซึ่งในปี 2543 กูเกิลได้เปิดธุรกิจในส่วนโฆษณาในชื่อ แอดเวิรดส์ และ แอดเซนส์ โดยเป็นการโฆษณาผ่านคำค้นหา ซึ่งทำให้ข้อความโฆษณาตรงกับความต้องการของผู้ค้นหาเนื้อหาในเว็บไซต์ และสองส่วนนี้กลายมาเป็นธุรกิจหลักของกูเกิลร่วมกับตัวเสิร์ชเอนจิน
เดือนพฤษภาคม 2543 กูเกิลได้มีผู้ใช้งานค้นหาคำมากกว่า 18 ล้านคำต่อวัน ซึ่งกลายมาเป็นเซิร์ชเอนจินอันดับหนึ่งของโลก และในเดือนมีนาคม 2544 เอริก ชมิดต์ อดีตผู้บริหารบริษัทโนเวลล์ และผู้บริหารระดับสูงของซันไมโครซิสเต็มส์ได้เข้ามาร่วมงานกับกูเกิลในตำแหน่งประธานบริหาร